วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


แนวข้อสอบ กรมยุทธศึกษาทหารบก ( ยศ.ทบ. )


วิชาภาษาไทย


สำหรับเนื้อหาที่ออกข้อสอบ เป็นเนื้อหาเดียวกันกับที่ใช้สอบ ก.พ. ครับ










หลักภาษาไทย


  1. หลักเกณฑ์ต่าง ๆ ของภาษาไทย
  2. พยัญชนะ สระ วรรณยุกต์
พยัญชนะ
พยัญชนะไทยมี 44 รูป สามารถแบ่งตามฐานที่ใช้ในการออกเสียงเป็นวรรค ดังเช่นในภาษาบาลีและสันสกฤต พร้อมแสดงชื่อเรียกในปัจจุบัน
วรรค กะ-ก ไก่ข ไข่ฃ ขวด*ค ควายฅ คน*ฆ ระฆังง งู
วรรค จะ-จ จานฉ ฉิ่งช ช้างซ โซ่ฌ เฌอญ หญิง
วรรค ฏะ-ฎ ชฎาฏ ปฏักฐ ฐานฑ มณโฑฒ ผู้เฒ่าณ เณร
วรรค ตะ-ด เด็กต เต่าถ ถุงท ทหารธ ธงน หนู
วรรค ปะ-บ ใบไม้ป ปลาผ ผึ้งฝ ฝาพ พานฟ ฟันภ สำเภาม ม้า
เศษวรรค-ย ยักษ์ร เรือล ลิงว แหวนศ ศาลาษ ฤๅษีส เสือห หีบฬ จุฬา

* เนื่องจาก ฃ และ ฅ ปัจจุบันไม่พบการใช้งาน จึงอนุโลมใช้ ข และ ค แทนในการสะกด
พยัญชนะไทยยังแบ่งออกเป็น 3 หมู่ เรียกว่า ไตรยางศ์ ประกอบด้วย

สระ

สระในภาษาไทยมี 21 รูป ซึ่งรูปสระเหล่านี้จะนำไปประกอบเป็นรูปสระที่ใช้จริงอีกต่อหนึ่ง

วรรณยุกต์ในภาษาไทยมี 4 รูป 5 เสียง
คำทุกคำในภาษาไทยจะมีเสียงวรรณยุกต์เสมอ แม้ว่าจะไม่มีรูปวรรณยุกต์แสดงให้เห็นก็ตาม


รูปวรรณยุกต์

  •  ่ ไม้เอก
  •  ้ ไม้โท
  •  ๊ ไม้ตรี
  •  ๋ ไม้จัตวา


เสียงวรรณยุกต์

  • เสียงสามัญ
  • เสียงเอก
  • เสียงโท
  • เสียงตรี
  • เสียงจัตวา
  1. หลักการใช้ หลักการอ่าน   
พื้นฐานภาษาไทยได้แก่ พยัญชนะ สระ วรรณยุกต์  การใช้เครื่องหมายวรรคตอน คำถูก คำผิด การอ่านคำ เช่น หลักการอ่าน ตามพจนานุกรม การอ่านตามความนิยม  ความหมายของคำ กลุ่มคำ เช่น คำมูล คำสมาส คำสนธิ  และ คำที่มาจากภาษาอื่น เช่น ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ภาษา เขมร จีน และ  อื่น ๆ



หลักการของกลุ่มคำ





หลักการเขียนและจัดเรียงข้อความ 
ข้อสอบ ยศ. จะมีประมาณ 2 ข้อ 4 คะแนน ครับ


ตัวอย่างข้อสอบ


  1. อันสังขารทั้งหลายมีแต่เสื่อมไปเป็นธรรมดา
  2. เราตถาคตขอเตือนท่าน
  3. ภิกษุทั้งหลาย
  4. ขอให้ท่านทั้งหลายจงบำเพ็ญกุศลให้เต็มที่
  5. ด้วยความไม่ประมาทเถิด
               คุณว่า..ควรจะเรียงข้อความไหนไว้ก่อน-หลัง..เคล็ดลับส่วนตัว ที่ใช้ได้ผลอยู่บ่อยๆ เวลาทำข้อสอบประเภทนี้เพิ่มเติม กล่าวคือ

       เหลือบตาไปดูตัวเลือกที่ให้ทุกตัวเลือก

                ก. 4 5 3 2 1
                ข. 1 2 3 4 5
                ค. 2 3 1 4 5
                ง. 3 2 1 4 5
                จ. 3 1 2 5 4

             จะเห็นได้ว่ามีตัวเลือกที่น่าลุ้นอยู่ 2 ข้อ ซึ่งตามหลักของการเรียงข้อความแล้ว..ตัวเลือกที่น่าลุ้นทั้งสองนั้นมีประธานของประโยควางเด่นเป็นสง่าไว้รอรับส่วนขยายอื่นๆ ของประโยครอไว้ให้แล้วดูความเหมาะสมว่า ประโยคนี้จุดเริ่มต้นเริ่มจากส่วนย่อยไปส่วนใหญ่ หรือจากส่วนใหญ่ไปส่วนย่อย..ซึ่งจุดนี้แหละสำคัญ เนื่องจากว่าข้อสอบบางข้อนั้น เราไม่สามารถเดาใจผู้ที่ออกข้อสอบได้เลยว่า..เขาจะเริ่มจากส่วนไหน ซึ่งถ้าเราเจอสถานการณ์นั้นเข้า..จงจำไว้เสมอว่า..ตนแลคือที่พึ่งแห่งตน.. มั่นใจในตัวเองเข้าไว้ครับ^^

เอาละ..เคล็ดลับก็บอกไปแล้ว ดังนั้น ลงมือทำได้



แบบทดสอบออนไลน์ การจัดเรียงข้อความ


http://www.club-edu.com/exam_test.php?occupation_id=24&exam_year=2009&branch_id=38&total_exam=80






หลักความเข้าใจภาษาและสรุปความ


ตัวอย่างแนวข้อสอบครับ


ข้อ 1. การศึกษาในปัจจุบันเป็นการเตรียมคนเพื่อให้เป็นพลเมืองที่ดีมีป ระสิทธิภาพ โรงเรียนในปัจจุบันทำหน้าที่แทนครอบครัวซึ่งก็เป็นไปตามสภาพของ เศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป 
สาระสำคัญของข้อความข้างต้นคือข้อใด
1. ในปัจจุบันการศึกษาทั่วไปกระทำเฉพาะในโรงเรียน
2. แต่เดิมการศึกษากระทำกันในเฉพาะครอบครัว
3. สภาพเศรษฐกิจและสังคมมีผลกระทบต่อคุณภาพของเยาวชน
4. ปัจจุบันโรงเรียนมีหน้าที่อบรมคนให้เป็นคนดีมีความสามารถ



คำตอบ คือ ข้อ 4

ข้อ 2. ในภาษาไทยมีคำว่า “บัณฑิตย์” อีกคำหนึ่งแปลว่าความเป็นบัณฑิต คำนี้ไม่ค่อยใช้โดด ในภาษาไทยมักจะใช้กับคำอื่นในรูปของคำสมาส เช่น ราชบัณฑิตยสถาน เนติบัณฑิตยสถาน เป็นต้น
สาระสำคัญของข้อความข้างต้นคือข้อใด
1. บัณฑิตย์มักใช้ในความหมายที่เกี่ยวกับสถานที่
2. บัณฑิต และบัณฑิตย์มีการใช้และความหมายแตกต่างกัน
3. คำที่อ่านว่า บัน-ดิด มักใช้คู่กับคำอื่นในรูปของคำสมาส
4. บัณฑิตใช้โดดๆ ได้ แต่บัณฑิตย์ใช้โดดไม่ได้



คำตอบ คือ ข้อ 3

ข้อ 3. อาหารบางประเภทไม่ว่าจะเป็นผลไม้ เช่น ทุเรียน หรือของสด เช่น ปลาสลิด จะมีปัญหาในเรื่องกลิ่น ทำให้สายการบินทั้งในและต่างประเทศพากันลำบากใจในการรับขนส่ง จึงจำเป็นต้องมีเที่ยวบินพิเศษเพื่อรับขนส่งสิ่งเหล่านี้โดยเฉพ าะ
สาระสำคัญของข้อความข้างต้นคือข้อใด
1. อาหารบางประเภทไม่เหมาะกับการขนส่ง
2. การขนส่งอาหารบางประเภทต้องใช้เที่ยวบินพิเศษ
3. การขนส่งอาหารบางประเภทเป็นปัญหาของทุกสายการบิน
4. สายการบินทุกแห่งไม่รับขนส่งอาหารที่มีปัญหาในเรื่องกลิ่น



คำตอบ คือ ข้อ 2




การใช้ประและไม่ประวิสรรชนีย์
          ปัญหาในการอ่านและเขียนคำที่มีประวิสรรชนีย์และไม่ประวิสรรชนีย์ยังพบอยู่มาก  เพราะผู้ใช้เองไม่มีหลักในการใช้หรือหลักในการสังเกตที่ถูกต้อง  การใช้ประและไม่ประวิสรรชนีย์มีหลักในการสังเกต  ดังนี้
          1.  คำที่ประวิสรรชนีย์  ข้อสังเกตในการใช้มีดังนี้
                    1.1  คำพยางค์เดียวที่ออกเสียง อะ  จะประวิสรรชนีย์เสมอ  เช่น  กะ  จะ  ปะ  ละ  นะ
                    1.2  คำไทยแท้ที่ออกเสียง อะ  ทั้งพยางค์ที่ลงน้ำหนักและไม่ลงน้ำหนัก  เมื่อเขียนต้องประวิสรรชนีย์  เช่น
                              มะม่วง  มะดัน  มะนาว  มะขาม  มะยม
                              ละมั่ง  ละอง  ตะกวด  ตะขาบ  กระจง
                              ตะกร้า  ตะโพน  กระดาน  กะดัง  ชะลอม
                    1.3  คำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤต  คำพยางค์ท้ายของคำที่ออกเสียง  อะ  จะประวิสรรชนีย์  เช่น  ศิลปะ  ศีรษะ  ลักษณะ  สาธารณะ  สุขะ
                    1.4  คำที่มาจากภาษาสันสกฤต  ที่พยางค์หน้าออกเสียง  กระ  ตระ  ประ  จะต้องประวิสรรชนีย์  แม้ว่าพยางค์ที่ตามมาจะออกเสียงอย่างอักษรนำ  เช่น
                              กระ          กระษัย  กระษิร  กระษาปณ์
                              ตระ          ตระกูล  ตระการ
                              ประ          ประวัติ  ประโยชน์  ประมาท  ประกาศ
                    1.5  คำที่ไทยรับมาจากภาษาชวาและอ่านออกเสียง  อะ  ที่พยางค์หน้า  เช่น
                              มะเดหวี  ประไหมสุหรี  มะงุมมะงาหรา
                    1.6  คำซ้ำประเภทคำอัพภาสที่ใช้ในบทร้อยกรอง  เช่น
                              จะเจื้อย - เจื้อยเจื้อย
                              วะวาว - วาววาว
                              คะคล้าย - คล้ายคล้าย
          2.  คำที่ไม่ประวิสรรชนีย์  ข้อสังเกตในการใช้มีดังนี้
                    1.  คำไทยที่ยกเว้นไม่ประวิสรรชนีย์  เช่น  ธ  ณ  ธชี  ทแกล้ว  ทนาย  อนึ่ง  ฯพณฯ
                    2.  พยางค์กลางของคำสมาส  แม้จะออกเสียง  อะ  ก็ไม่ประวิสรรชนีย์  เช่น  ศิลปกรรม  ธนบัตร  จุลสาร  รัฐศาสตร์  พุทธพจน์
                    3.  พยางค์หน้าของคำสองพยางค์ที่ออกเสียงแบบอักษรนำ  แม้จะออกเสียง  อะ  ก็ไม่ประวิสรรชนีย์  เช่น  กนก  ขนาน  จรัส  ฉลาด  ตลับ  เสมอ  สลวย  สวิง  เฉลย
                    4.  คำที่มาจากภาษาเขมรที่มีพยัญชนะต้นสองตัวซ้อนกัน  จะต้องอ่านคำหน้าเป็น  อะ  ไม่ต้องประวิสรรชนีย์  เช่น  ขมา  ขโมย  ผจญ  ผทม  สบง  เผดียง  สลา  จรูญ  ถนน